ชนิดของระบบปฏิบัติการ

ชนิดของระบบปฏิบัติการ

1. Single-Tasking 

เป็นระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงคนเดียว และทำงานได้เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง เช่นในขณะที่ทำการแปลโปรแกรม ก็ไม่สามารถเรียกใช้ Editor ได้ การจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการจะไม่ซับซ้อนนัก ไม่ว่าจะเป็นการจัดการอุปกรณ์รับ และแสดงผล การจัดการหน่วยความจำ การจัดการดิสก์ ตัวอย่างเช่น 
- อ่านและแปลค่าจากการกดแป้นพิมพ์ 
- ส่งข้อมูลไปบันทึกในดิสก์ หรือพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ 
- จัดการที่ว่างบนดิสก์ 
- แยกเก็บโปรแกรม คอมพิวเตอร์ editor และโปรแกรมระบบปฏิบัตการในหน่วยความจำ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้แก่ MS DOS 




Single-Tasking

2. Multitasking (Single-User) 

เป็นระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้เพียงคนเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง แต่สามารถทำงานได้หลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน เช่นสามารถที่จะใช้ editor ไปพร้อม ๆ กับพิมพ์งานอื่นทางเครื่องพิมพ์ได้ระบบปฏิบัติการจะสลับการใช้งานระหว่าง CPU และทรัพยากรอื่น ๆ อย่างรวดเร็วจนผู้ใช้ไม่รู้สึกว่าถูกขัดจังหวะการทำงาน เนื่องจากมีการทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน การทำงานของ ระบบปฏิบัติการจะซับซ้อนขึ้น เช่นการจัดการหน่วยความจำ จะต้องมีโปรแกรมหลายโปรแกรมเก็บอยู่ในหน่วยความจำในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้องไม่ให้โปรแกรมเหล่านั้นก้าวก่ายกัน ซึ่งอาจจะต้องมีการจัดลำดับ หรือเลือกงานเพื่อเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ และใช้เป็นเวลานานเท่าใด ตัวอย่างระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้แก่ Windows 95, UNIX, OS/2, VMS 

ระบบ multitasking

3. Multi-user systems 

บางครั้งเรียกระบบ multiprogramming เป็นระบบที่มีความซับซ้อนกว่าระบบ Single user หลักการของระบบนี้ก็คือ 
- การให้มีโปรแกรมอยู่ในหน่วยความจำพร้อมที่จะถูกประมวลผลได้หลาย ๆ โปรแกรม ระบบปฏิบัติการจะเลือกโปรแกรมมา 1 โปรแกรมให้ CPU ทำการประมวลผล ไปเรื่อย ๆ เมื่อโปรแกรมนั้นต้องติดต่อกับอุปกรณ์รับและแสดงผล  ระบบปฏิบัติการก็จะเลือกโปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ CPU แทน ระบบปฏิบัติการเลือกโปรแกรมให้แก่ CPU เรื่อย ๆ จนกว่าแต่ละโปรแกรมจะเสร็จสิ้นไปการที่จะทำงานหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กัน ระบบปฏิบัติการต้องคอยควบคุม และจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้แต่โปรแกรม เช่นจัดสรรเนื้อที่ในหน่วยความจำหลัก สับหลีกโปรแกรมที่จะเข้าใช้ CPU รวมถึงการจัดอุปกรณ์รับ และแสดงผล ไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน 


ระบบ Multiuser

การทำงานในลักษณะ multiuser ยังแบ่งเป็นการทำงานแบบ Time sharing คือการแบ่งช่วงเวลา 
การเข้าใช้ CPU ให้แต่ละโปรแกรมเป็นช่วงสั้น ๆ ผลัดเปลี่ยนเวียนให้หลายงานได้มีโอกาสเข้า CPU 
ผู้ใช้แต่ละคนจะมีความรู้สึกว่าตนได้เป็นผู้ครอบครองคอมพิวเตอร์แต่เพียงผู้เดียว ตัวอย่าง 
ระบบปฏิบัติการแบบนี้ได้แก่ UNIX, VMS






ความคิดเห็น