วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ

วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ
รุ่นที่ 0 (The Zeroth genaration) ยังไม่มีระบบปฏิบัติการ (ค.ศ. 1940) 
ระบบคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ เช่น ENIAC นั้นยังไม่มีระบบปฏิบัติการ การสั่งงานจะทำด้วยมือทุก ขั้นตอน เริ่มแรกโปรแกรมเมอร์จะโหลดโปรแกรมจาก tape กระดาษ หรือบัตรเจาะรูเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่อง โดยการกดปุ่มจาก console

          จากนั้นก็สั่งให้เริ่มทำงานโดยกดปุ่มเช่นกัน ในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานโปรแกรมเมอร์หรือโอเปอร์เรเตอร์จะต้องคอยดูอยู่ตลอดเวลา หากเกิด error ขึ้น จะต้องหยุดการทำงานและจำค่าของรีจิสเตอร์ และแก้ไขโปรแกรมโดยตรงจาก console output 
จะถูกบันทึกลงใน tape กระดาษหรือบัตรเจาะรู 


รุ่นที่ 1 (the first generation) ระบบประมวลผลแบบกลุ่ม (ค.ศ. 1950)
ก่อนที่จะเริ่มมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการขึ้นมา การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ต้องสูญเสียเวลามากในช่วงที่งาน (Job)หนึ่งเสร็จสิ้นลงและเริ่มต้นรันงานต่อไป
ถ้าเรามีงานหลายๆ งานรอที่จะให้คอมพิวเตอร์รัน เราก็จะต้องเสียเวลาเป็นอันมาก และนอกจากนี้เราต้องทำงานเช่นนี้ซ้ำอยู่หลายครั้ง


รุ่นที่ 2 (the second generaiton) ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (ค.ศ. 1960) 
ในยุคนี้ OS สามารถที่จะทำงานในลักษณะมัลติโปรแกรมมิ่ง(Multiprogramming) และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) 
ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง มีการเก็บโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมเข้าไว้ในหน่วยความจำพร้อมกัน มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่นให้โปรแกรมผลัดเปลี่ยนกันเข้าใช้ CPU ที่ละโปรแกรมในช่วงเวลาสั้น ๆ จึงทำให้หลาย ๆ โปรแกรมได้ประมวลผลในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
แต่ก็ยังมีปัญหาผู้ใช้ไม่สามารถนำโปรแกรมประยุกต์จากเครื่องที่ต่างกันมาใช้ร่วมกันได้ เนื่องจากระบบปฏิบัติการของแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ผู้ใช้จะต้องเสียเวลาในการเขียนโปรแกรมใหม่เมื่อเปลี่ยนเครื่อง 

ระบบ real-time ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน 
ระบบ real-time
คือระบบที่สามารถให้การตอบสนองจากระบบอย่างทันทีทันใดเมื่อรับอินพุตเข้าไปแล้ว
ในทางอุดมคติ real-time คือระบบที่ไม่เสียเวลาในการประมวลผลหรือเวลาในการประมวลผลเป็นศูนย์ แต่ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้ได้ ทำได้แค่ลดเวลาการประมวลผลของเครื่องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ส่วนมากจะนำไปใช้ในการควบคุมกระบวนการต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม

รุ่นที่ 3 (the third generation) ระบบปฏิบัติการเอนกประสงค์ (กลาง ค.ศ. 1960 ถึงกลาง ค.ศ. 1970) 
OS ในยุคนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลาย ๆ แบบในรุ่นเดียวกัน และใช้ได้กับงาน หลาย ๆ ประเภท ไม่ได้เจาะจงลงไปที่ลักษณะงานใดงานหนึ่ง ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผลทางการค้า ผู้เขียนโปรแกรม OS ต้องการยอดขายให้ได้มาก จึงเขียน OS ให้ใครก็ได้สามารถใช้ OS ของเขาได้ และใช้กับงานหลายประเภทได้ ส่งผลให้ OS มีขนาดใหญ่ ทำงานช้าลงและแพงขึ้น

รุ่นที่ 4 (the forth generation) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (กลาง ค.ศ. 1970 ถึงปัจจุบัน) 
เทคนิคการเขียนโปรกรม OS ในรุ่นที่ 3 เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ในยุคนี้ OS จึงถูกพัฒนาให้มีความสามารถในงานพิเศษอื่นๆ เพิ่มขึ้น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) ระบบนี้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยผ่านทางเทอร์มินอลชนิดต่าง ๆ ซึ่งต้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายและกระจายไปตามจุดต่าง ๆ เช่นภายในอาคารสำนักงานภายในจังหวัด และทั่วโลก ซึ่งทำให้สามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะทาง และชนิดของคอมพิวเตอร์ 


     แนวคิดเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (virtual machine) เริ่มนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง 
เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน หมายถึง การแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามีอยู่ให้กลายเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากเกี่ยวกับรายละเอียดทางด้านฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกต่อไป 
ผู้ใช้สามารถสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนได้โดยการใช้ OS 
ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนจะมี OS อีกตัวหนึ่งติดต่อกับผู้ใช้ และทำงานอยู่บน OS ของเครื่อง ซึ่ง OS ตัวที่ 2 นี้จะเป็น OS ที่ถูกสร้างขึ้นให้เหมือนกับ OS ของเครื่องอื่นที่เราต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของเราเป็น 
ดังนั้นคอมพิวเตอร์และ OS ตัวแรกจะเปรียบเสมือนเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ในสายตาของผู้ใช้ 



การทำงานระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน(virtual machine)





ความคิดเห็น