ลำดับชั้นของโปรเซส (Process Hierarchy)

ลำดับชั้นของโปรเซส (Process Hierarchy)

     เมื่อผู้ใช้ส่งงานให้กับระบบรัน OS จะทำการสร้างโปรเซสสำหรับงานนั้นขึ้นมา
การทำงานของ OS ก็ถือว่าเป็นงานของระบบดังนั้นจะมีการสร้างโปรเซสขึ้นเหมือนกัน
นอกจากนั้นโปรเซสที่ถูกสร้างขึ้นก็สามารถสร้างโปรเซสย่อยได้
โปรเซสที่ให้กำเนิด เราเรียกว่าโปรเซสแม่ (parent process)
โปรเซสย่อยที่เกิดขึ้น เราเรียกว่าโปรเซสลูก (child process)


      โดยทั่วไป เมื่อโปรเซสแม่จบลง โปรเซสต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ตัวมันก็จะจบลงตามไปด้วย
แต่ OS บางตัวยอมให้โปรเซสแม่จบลง โดยที่โปรเซสลูกไม่ต้องจบลงตามไปด้วย ในกรณีนี้โปรเซสลูกก็จะไม่มีโปรเซสแม่

จากตัวอย่างในรูป โปรเซส A จะมีโปรเซสลูก 3 โปรเซสคือ B,C และ D
ถึงแม้ว่าโปรเซส A เป็นโปรเซสแม่ของโปรเซส B,C และ D แต่โปรเซส A ไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างโปรเซส B,C และ D 
ผู้ที่สร้างโปรเซสทั้งหมดได้แก่ OS ซึ่ง OS จะมีโปรเซสหนึ่งทำหน้าที่สร้างและยุติโปรเซส คือ “ตัวจัดคิวระยะยาว”
คำถาม
โปรเซส  F,G,H นั้นถูกสร้างโดยโปรเซส D ใช่หรือไม่
ใครเป็นผู้ที่สร้างโปรเซส A 

โปรเซสที่เอ็กซิคิวต์ในระบบนั้นมี 2 แบบ

โปรเซสที่เป็นอิสระ ( Independent Processes) หมายถึงโปรเซสที่ไม่มีผลกระทบหรือไม่ได้รับผลกระทบจากโปรเซสอื่น

โปรเซสสื่อประสาน (Cooperating Processes) หมายถึงโปรเซสที่มีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากโปรเซสอื่น
เหตุผลที่ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างโปรเซส
ต้องการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ต้องการเพิ่มความเร็วในการคำนวณ






ความคิดเห็น